พิธีการจัดงานศพ จัดขึ้นเพื่อเป็นการเคารพรักต่อผู้เสียชีวิต แสดงความเสียใจให้กับคนในครอบครัวของผู้เสียชีวิต ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีของแต่ละที่ หรือบางครั้งยังมีความเชื่อทางศาสนาเกี่ยวข้อง เช่น การพาจิตใจผู้เสียชีวิตสู่โลกหนึ่ง หรือการตามพิธีศาสนาเพื่อให้กำลังใจแก่คนในครอบครัวในช่วงเวลาที่เจ็บปวดและสูญเสีย
“เฮือนเย็น” คืออะไร ?
พิธีงานศพแบบล้านนา หรืออีกชื่อคือ “เฮือนเย็น” เป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญไม่น้อยสำหรับชาวล้านนา ซึ่งพิธีกรรมนี้ ไม่ใช่การจัดพิธีงานศพที่มีแค่ครอบครัว แต่จะต้องให้คนทุกคนในหมู่บ้านนั้น เข้าร่วมพิธีกรรมนี้ทั้งหมด ซึ่งพิธีงานศพแบบล้านนานี้มีความเชื่อที่หลากหลายกันไป เช่น ผี ศาสนาพุทธ พราหมณ์ และไสยศาสตร์ เป็นต้น
เหตุผลที่ทำไมต้องเรียกพิธีงานศพนี้ว่า “เฮือนเย็น” เนื่องจากหากครอบครัวไหนมีคนเสียชีวิต ร่างของผู้ที่เสียชีวิตจะเย็น เรียบงเหมือนกับบ้านหลังนี้ เย็นยะเยือกจนถึงหัวใจ หรือเรียกว่าเป็นภาวะช็อคที่มีผู้เสียชีวิตเกิดขึ้นในครอบครัวนั้น ๆ จนทำให้เกิดบรรยากาศเศร้าสร้อยเสียใจ
หากมีคนป่วยภายในบ้านหลังนั้น ทางครอบควจะต้องนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีที่เกี่ยวกับวิบากกรรม ซึ่งมีความเชื่อว่า ช่วยให้พ้นจากโรคได้เร็วมากขึ้น แต่หากผู้ป่วยยังมีวิบากกรรมอยู่ จะเสียชีวิตไปอย่างสงบ ไม่ต้องเจ็บปวดหรือทรมาน โดยลูกหลานที่เป็นเพศชาย นำข้าวตอกดอกไม้ไปขอขมาพระรัตนตรัยที่วัดของหมู่บ้านนั้น ๆ
หากมีคนสิ้นใจในบ้านหลังนั้น ครอบครัวจะร้องไห้ออกมาด้วยความเสียใจอย่างมากที่สุด ซึ่งเป็นการระบายความเศร้าเสียใจต่อผู้ที่เสียชีวิต และต้อบอกให้คนในหมู่บ้านทราบ เพื่อให้ทุกคน เข้าช่วยเหลือพิธีงาศพอย่างพร้อมเพียงที่สุด โดยชาวล้านนานำร่างผู้เสียชีวิตบรรจุในปราสาทเรือนศพ เป็นความเชื่อที่ว่าผู้เสียชีวิตจะได้อยู่ในบ้านที่สวยงาม
พิธีการเคลื่อนย้ายขบวนศพไปไว้ที่ป่าช้านั้น จะต้องใช้ตุงสามหางนำหน้าขบวนศพ ซึ่งใส่เสบียง “ข้าวด่วน” และทำกระทงใบตองใส่เครื่องเส่นต่าง ๆผ่านทางสามแพร่งหรือจุดสำคัญต่าง ๆ ในหมู่บ้าน แล้วจึงนิมนต์พระสงฆ์นำขบวนงานศพนำทางเข้าสู่ป่าช้า ตามด้วยครอบครัว ญาติพี่น้อง และคนในหมู่บ้าน ต่อด้วยการบรรเลงเพลงดนตรีปี่พาทย์ เมื่อเคลื่อนย้ายศพถึงป่า้า จะใช้น้ำมะพร้าวเพื่อล้างหน้าศพ แล้วทำพิธีบังสุกุล เดินเวียน 3 รอบ และเริ่มพิธีการเผาเป็นขั้นตอนสุดท้ายตามสำดับ
เมื่อผ่านงานพิธีศพแบบล้านนาไปได้สักระยะ ครอบครัวจะมีการจัดพิธีที่เรียกว่า “ปอยข้าวสงฆ์” ซึ่งมีขึ้นเพื่อระลึกถึงผู้ที่เสียชีวิต เป็นการทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่ผู้ที่เสียชีวิต โดยพิธีนี้จะมีการจัดเพลข้าวปลาอาหาร รวมถึงสิ่งของที่เป็นของผู้เสียชีวิต ใส่เข้าไปใน “เฮือนตาน” หรือคือบ้านหลังเล็ก ๆ ที่สร้างจำลองขึ้นมา ซึ่งมีความเชื่อที่ว่า ผู้ที่เสียชีวิต สามารถนำของเหล่านี้ไปใช้ในอีกโลกนึงได้นั่นเอง
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ สรุปได้เลยว่า “เฮือนเย็น” เป็นพิธีการที่สื่อถึงความเชื่อและวัฒนธรรมของคนล้านนา ในการเสียชีวิตและการตอบแทนวิญญาณผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา ดังนั้น การรักษาพิธีนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญและมีความหมายอย่างมากในวัฒนธรรมและศาสนาในภาคเหนือของประเทศไทย