พิธีกรรมงานศพของแต่ละภาคในไทย เป็นอย่างไรบ้าง ?

พิธีกรรมงานศพของไทยมีรากฐานมาจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ภายใต้ความเชื่อที่ว่าเมื่อบุคคลใดเสียชีวิตไปแล้ว ดวงวิญญาณจะไปสู่ภพภูมิใหม่ พิธีกรรมงานศพจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับไปสู่ภพภูมิที่ดี และถ้าอยากรู้เกี่ยวกับความสำคัญของงานศพสามารถอ่านได้ที่  ทำไมงานศพจึงมีความสำคัญอย่างมากไม่ว่าจะที่ไทยและต่างประเทศ และเราจะพามาดูความเชื่อการจัดงานศพของแต่ละภาคกัน ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

พิธีกรรมงานศพของไทยในแต่ละภาคมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปบ้าง ดังนี้

พิธีกรรมงานศพของภาคกลาง

รูปแบบการทำพิธีกรรมงานศพของภาคกลางมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับพิธีกรรมงานศพตามหลักศาสนาพุทธโดยทั่วไป มีขั้นตอนหลักๆ อยู่ 4 ข้อ ได้แก่

  1. การรดน้ำศพ เป็นการชำระล้างร่างกายและจิตใจของผู้ล่วงลับ โดยใช้น้ำมนต์ผสมน้ำสะอาด โรยด้วยดอกไม้หอมหรือจะใช้น้ำอบผสมเข้าไปด้วย
  2. การบำเพ็ญกุศลสวดอภิธรรม คนภาคกลางมีความเชื่อว่าการบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ โดยจัดให้มีพิธีสวดพระอภิธรรมเป็นเวลาหลายวัน ตามความสะดวกของครอบครัว จะช่วยให้ผู้ล่วงลับได้ไปสู่ภพภูมิที่ดี
  3. จัดการฌาปนกิจ เป็นการเผาศพของผู้ล่วงลับ เพื่อส่งดวงวิญญาณไปสู่ภพภูมิใหม่
  4. การเก็บอัฐิหรือเถ้ากระดูก ที่มีการเก็บอัฐิของผู้ล่วงลับไว้ ก็เพื่อบูชาไว้ที่บ้านเพื่อการรำลึกถึงการจากไปหรือนำไปลอยอังคาร

พิธีกรรมงานศพของภาคเหนือ

ส่วนของการทำพิธีกรรมงานศพในภาคเหนือจะมีรูปแบบที่เรียบง่าย แต่แฝงไปด้วยความหมายลึกซึ้ง จนเราเองก็อาจจะมองข้ามไป ได้แก่

  1. การอาบน้ำศพ เป็นการชำระล้างร่างกายของผู้ล่วงลับ โดยใช้น้ำสะอาดผสมกับน้ำอบ เพื่อทำให้กายสะอาดที่สุด
  2. การประกอบพิธีกรรม ก็จะเป็นการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตามความเชื่อของศาสนาพุทธโดยทั่วไป
  3. การฝังศพ คนเหนือส่วนใหญ่จะไม่ทำการเผาศพแต่จะเป็นการฝังศพของผู้ล่วงลับแทน

พิธีกรรมงานศพของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พิธีกรรมงานศพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสาน มีลักษณะที่หลากหลายและแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น โดยการประกอบพิธีกรรมหลัก ๆ คือ การอาบน้ำศพ เป็นการชำระล้างร่างกายของผู้ล่วงลับ โดยใช้น้ำสะอาดผสมกับน้ำอบ ก่อนนำไปเข้าการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และจบด้วยการเผาศพ แต่กรณีที่ศพของผุ้ล่วงลับนั้น ประสบอุบัติเหตุ ถูกฆาตกรรม หรือฆ่าตัวตาย คนอีสานจะนับว่าเป็นการตายที่ผิดปกติหรือ “ตายโหง” นั้น จะไม่มีการอาบน้ำศพหรือเผา แต่จะนำร่างของเสียชีวิตนั้นไปฝังที่บริเวณป่าช้าแทน

พิธีกรรมงานศพของภาคใต้

สุดท้าย ของภาคใต้ ต้องเล่าก่อนว่าคนใต้มีหลายศาสนาทำให้รูปแบบการทำพิธีกรรมอาจมีความแตกต่างมากเมื่อเทียบกับ 3 ภาคก่อนหน้า คนใต้เชื่อว่าถ้าผุ้เสียชีวิตเป็นเด็กหรือทารก ต้องทำการจัดพิธีเผาให้เร็วที่สุด โดยไม่มีการจัดงานแต่อย่างได แต่ก่อนที่จะเผา ศพนั้นต้องถูกฝังก่อนภายในวันที่เสียชีวิตนั้นเลย 

แต่กรณีที่ไม่ใช่เด็กหรือทารก ก็จะมีการทำพิธีที่เรียกว่า พิธีดอย เป็นพิธีเฉพาะของชาวภาคใต้ที่เชื่อว่าจะต้องไปนำผุั้ที่มีวิชาอาคมมาพรมน้ำมนต์รอบบ้านหรือร่างผู้เสียชีวิตเพื่อป้องกันวิญญาณร้ายที่จะเข้ามาสร้างความเดือนร้อน

นอกจากพิธีกรรมหลัก ๆ ข้างต้นแล้ว ในแต่ละภาคยังมีพิธีกรรมย่อย ๆ ที่แตกต่างกันออกไป เช่น พิธีแห่ศพ พิธีทอดผ้าบังสุกุล พิธีบังสุกุล พิธีทำบุญเลี้ยงพระ พิธีลอยอังคาร เป็นต้น

พิธีกรรมงานศพเป็นประเพณีที่สำคัญของคนไทย ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและความผูกพันระหว่างคนในครอบครัวและญาติมิตร พิธีกรรมเหล่านี้ไม่เพียงเป็นการแสดงออกถึงความเคารพต่อผู้ล่วงลับเท่านั้น แต่ยังเป็นการแสดงออกถึงความหวังดีและความปรารถนาดีต่อครอบครัวของผู้ล่วงลับอีกด้วย

ภัณฑโชค ฟิวเนอรัล บริการพวงหรีด และจัดงานศพ

บริการจัดทำพวงหรีดจากดอกไม้ที่ได้รับการดูแลอย่างดี เป็นดอกไม้สดนำเข้าจากต่างประเทศและดอกไม้จากในประเทศไทย พร้อมด้วยการจัดตกแต่งอย่างสวยงามตามความต้องการของผู้จัด เพื่อให้สมเกียรติผู้วายชนม์ บริการจัดงานศพแบบครบครัน ไว้วางใจให้มืออาชีพ “ภัณฑโชค ฟิวเนอรัล” ดูแลท่านด้วยประสบการณ์ในธุรกิจหลังความตายมากว่า 40 ปี

ติดต่อ “ภัณฑโชค ฟิวเนอรัล” ได้ที่

  • 082-300-2222 (สายด่วน/ทั่งประเทศ)
  • 02-0966-555 (สำนักงานกรุงเทพ)
  • 082-722-4444 (สำนักงานราชบุรี)
  • 033-1-66666 (สำนักงานชลบุรี)

หมายเหตุ : สำหรับลูกค้าจังหวัดอื่นๆ สามารถติดต่อผ่านเบอร์หลัก เพื่อโอนสายไปยังแต่ละสาขา หรือติดต่อที่เบอร์สาขาได้โดยตรง