พิธีฌาปนกิจคืออะไร ? พร้อมย้อนรอยประวัติของการเผาศพในสมัยก่อน

พิธีที่ส่งวิญญาณผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้นถือว่าเป็นพิธีที่สืบทอดกันมายาวนาน เป็นพิธีที่อันศักดิ์สิทธิ์ที่คนไทยนับถือเพื่อไว้อาลัยให้แก่ผู้ที่ล่วงลับเป็นครั้งสุดท้าย “พิธีฌาปนกิจ” ถือได้ว่าเป็นพิธีที่สำคัญมากที่สุดของการงานฌาปนกิจศพไทย สมัยนี้นิยมเผาศพในเมรุและในสมัยก่อนที่นิยมเผาศพในรูปแบบเตาฟืน

พิธีฌาปนกิจคืออะไร ?

การฌาปนกิจศพ คือ การแปรสภาพร่างกายของผู้วายชนม์ด้วยเพลิงเพื่อให้ร่างกายซึ่งเน่าเสียง่ายเปลี่ยนเป็นเศษอัฐิหรือกระดูกซึ่งเก็บรักษาไว้ได้นาน อาจทำหลังจากพิธีบำเพ็ญกุศลเสร็จสิ้นแล้ว หรืออาจทำก่อนพิธีบำเพ็ญกุศลศพก็กระทำได้ การฌาปนกิจหรือการเผาศพนั้นก็มีขั้นตอน ก่อนที่จะทำการเผาศพก็จะมีการกำหนดวันเวลาที่ชัดเจน ให้ญาติพี่น้องได้ไปวางดอกไม้จันทร์เพื่อแสดงความอาลัย หลังจากที่มีการฌาปนกิจเสร็จเรียบร้อยก็จะมีการเก็บอัฐิของผู้วายชนม์ บางครอบครัวจะนำอัฐิไปลออยอังคารบ้างหรือเก็บไว้ที่บ้านเพื่อทำบุญ 100 วันก็ได้

ประวัติของการเผาศพในสมัยก่อน

การเผา วิธีนี้สืบเนื่องมาจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มนุษญืยยำเกรงต่อพลังธรรมชาตินั้นคือ ไฟ ตามความเชื่อในสมัยก่อนไฟถือเป็นสิ่งที่ทรงพลานุภาพที่เทพเจ้าประทานมาให้ การเผาศพจึงเป็นสัญลักษณ์การชำระล้างที่บริสุทธฺ์เพื่อส่งดวงวิญญาณ

ประวัติการเผาศพของไทยในสมัยก่อน

สังคมสมัยก่อนนั้น นิยมการฝังและการเผาศพที่ไร้ญาติหรือไม่มีคนจัดงานศพให้ ก็จะถูกนำไปฝังหรือทิ้งศพตามป่าช้า การเผาศพในไทยนั้นผสมผสานกับการนับถือผีต่าง ๆ โดยเฉพาะผีบรรพชน(ผีด้ำ) จึงเก็บอัฐิของบรรพชนไว้เพื่อบูชา ในอดีตไม่มีเมรุเหมือรทุกวันนี้ ในสมัยก่อนจำนำศพไปทางประตูผีแล้วเผาศพนอกกำแพง คนที่มีฐานะก็อาจจะทำเมรุเป็นครั้งคราวไปส่วนคนทั่วไปก็จะเผาบนกองฟอน โดยนำไม้มาเรียงเป็นชั้น ๆ  เมรุปูน เริ่มมีตั้งแต่ในรัชกาลที่ 1 ณ วัดสุวรรณราม ในรัชกาลที่ 3 ที่วัดสระเกศ และสืบทอดการสร้างเมรุจรนถึงรัชกาลที่ 5 ปัจจุปันเมรุเผาศพได้อชแพร่ไปตามวัดสำคัญในกรุงเทพฯ ช่วงประมาณปี พ.ศ.2500 ก่อนจะกระจายไปทั่วประเทศ

ประวัติการเผาศพของราชสำนักในสมัยก่อน

การเผาศพของราชสำนักมีความคล้ายคลึงกับงานของคนทั่วไป มีแบบแผนและธรรมเนียมมากกว่าและที่แตกต่างจากคนทั่วไปเลยคือ โกศ มีรูปทรงที่แตกต่างจากงานศพ ท่าทางของสพในโกศคือนั่งงอเข่าขึ้นมาชิดหน้าอก สองมือพนมเหนือเข่า มีกาจับไม้ค้ำคางตั้งอยู่แป้นไม้ฐาน ทำการสุกำคือด้ายสุกำ (ด้ายดิบทำจากผ้าฝ้าย) มามัดมือเหมือนมัดตราสังศพทั่วไป ในอดีตการเผาศพของพระราชสำนักเมื่อมีการพระราชทานเพลิงศพ ถวายเพลิงก็จะแก้เอาศพออกมา รูดเอาเนื้อหนังมังสาออกก่อนให้เหลือแต่กระดูกขาว แล้วจึงเผาแต่กระดูกนั้น ส่วนอย่างอื่นก็นำไปเผาพร้อมกับบุพโพ 

พิธีงานฌาปนกิจ งานศพ เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงผู้ตาย และยังเป็นพิธีกรรมที่ทำให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้มีโอกาสระลึกถึงผู้ตายและเพื่อเป็นการทำเพื่อผู้ที่เสียชีวิตไปเป็นครั้งสุดท้าย ให้งานออกมาดูซาบซึ้งและไว้อาลัยด้วยความคิดถึงอย่างดีที่สุด