การจัดพิธีศพแบบคนไทย

การจัดพิธีศพแบบคนไทย งานศพไทย ขั้นตอนการจัดงานศพ จัดงานศพควรทำอะไรบ้าง

ท่านใดที่กำลังมีปัญหาเกี่ยวกับ การจัดงานศพ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร เรื่องนี้ ภัณฑโชคอ มีคำตอบให้ค่ะ หากคุณพบสมาชิกในครอบครัวถึงแก่กรรมที่บ้าน เราที่เป็นคนในครอบครัวก็มีหน้าที่จะต้องทำอยู่หลายอย่าง ซึ่งในความจริงแล้วก็ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่หลายคนเข้าใจเลย เรื่องแบบนี้ศึกษาไว้ก่อนไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรค่ะ เพราะพอถึงยามที่เราเจอเหตุกาณ์กะทันหัน อย่างคาดไม่ถึง จะได้ทราบว่าควรดำเนินการอย่างไรบ้างค่ะ

1.อันดับแรกเลย คือ การแจ้งตาย

ในขั้นตอนนี้ ตามกฎหมายเราจะต้องทำการแจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมง  กรณีเสียชีวิตที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะเป็นผู้ดำเนินเรื่องออกใบรับรองแพทย์ให้กับทางครอบครัว เพื่อแสดงเหตุการณ์ตาย(ใบ ท.ร.4/1) ให้กับทางญาติหรือครอบครัวของผู้เสียชีวิตโดยเราสามารถนำใบนี้พร้อมบัตรประชาชนของผู้เสียชีวิตไปมอบให้สำนักทะเบียนท้องถิ่นหรือที่ทำการเขตให้ทำเรื่องได้ทันที แต่ถ้าหากเสียชีวิตที่บ้านให้โทรแจ้ง ผู้ใหญ่บ้าน ตำรวจ หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อมายืนยันการเสียชีวิต ว่าผู้ตายไม่ได้ถูกฆาตกรรมหรือมีเหตุให้เสียชีวิตแบบผิดธรรมชาติ ถ้าเป็นการเสียชีวิตโดยธรรมชาติสามารถออกใบรับรองการตายได้ทันที และสามารถเคลื่อนย้ายร่างของผู้เสียชีวิตได้ค่ะ

ความรู้เพิ่มเติม : เอกสารที่ต้องเตรียมไปแจ้งการเสียชีวิต

– บัตรประชาชนของผู้ที่ไปแจ้งตาย หรือของคนที่ได้รับการมอบอำนาจให้ดำเนินเรื่องแทน

– บัตรประชาชนของผู้เสียชีวิต (ถ้ามีต้องนำมาด้วย)

– หลักฐานรับแจ้งตาย (ท.ร.4 ตอนหน้า ) (ถ้ามีนำมาพร้อมกันเลย)

– สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้เสียชีวิตมีชื่ออยู่ (ถ้ามี)

– พยานบุคคลที่รู้เห็นการเสียชีวิต หรือผู้ที่พบศพเป็นคนแรก เช่น เพื่อนบ้าน ผู้คนในที่อยู่ในเหตุการณ์

2.การทำความสะอาดร่างกายและการฉีดฟอร์มาลีน

หลังจากแจ้งตายตามกฎหมายเรียบร้อยแล้ว ทางครอบครัวจึงสามารถดำเนินการกับร่างของผู้เสียชีวิตได้ เริ่มจากการทำความสะอาดร่างกายของผู้ตายด้วยน้ำอุ่น ตามด้วยการล้างน้ำเย็น เหตุผลที่ต้องล่างน้ำเย็นซ้ำอีกครั่งหนึ่งก็เพื่อเป็นการคงสภาพผิวหนัง ร่างกายของผู้ตายให้อยู่ในสถาพสมบูรณ์ที่สุด พรมน้ำอบน้ำหอมตามที่จัดหาไว้ ในขั้นตอนนี้มาจากความเชื่อที่ว่าเป็นการทำให้ผู้เสียชีวิตไปสู่โลกหน้าอย่างบริสุทธิ์ ปราศจากสิ่งสกปรก จากโลงนี้ เสร็จแล้วจึงทำการแต่งชุดที่เตรียมไว้ อาจเป็นชุดที่ผู้เสียชีวิตชอบใส่หรือชุดสูทสากลที่ให้ความเป็นทางการ บางครั้งจะแต่งกายให้ตามคำสั่งเสียของผู้วายชนม์ก็ได้เช่นกัน ในส่วนของการฉีดฟอร์มาลีน เพื่อรักษาสภาพศพของผู้เสียชีวิต ถ้าเป็นการตายที่โรงพยาบาลจะมีเจ้าหน้าที่มาดำเนินการในเรื่องนี้ให้เสร็จเรียบร้อยเลย แต่ถ้าเสียชีวิตที่บ้านสามารถติดต่อไปยังร้านรับจัดงานศพให้เข้ามาดำเนินเรื่องในส่วนนี้ก็ได้เช่นกัน หรือหากไม่ต้องการฉีดฟอร์มาลีนสามารถเลือกใช้หีบศพ ที่เป็นโลงเย็นเพื่อบรรจุร่างของผู้ตายได้ เพราะว่าโลงเย็นสามารถช่วยรักษาร่างให้อยู่ในสภาพเดิมมากที่สุดโดยที่ไม่ต้องฉีดสารฟอร์มาลีน

3.การติดต่อวัดที่จะจัดงานและเคลื่อนย้ายศพไปวัด

เมื่อดำเนินเรื่องข้างต้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปเราสามารถนำศพไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่วัด เพื่อตั้งบำเพ็ญกุศล ถ้าเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ก็สามารถแจ้งความต้องการกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล เพื่อขอให้จัดหารถส่งศพให้ จากนั้นนิมนต์พระสงฆ์ 1 รูปเพื่อให้ท่านทำการเชื่อเชิญวิญญาณหรือเพื่อนำทางจากสถานที่เสียชีวิต อย่างที่โรงพยาบาลไปยังวัดที่ตั้งบำเพ็ญกุศล แต่ก่อนที่เราจะนำศพไปวัด ควรจัดเตรียมเสื้อผ้า ของใช้ที่จำเป็นจากโรงพยาบาลหรือทางบ้านให้เรียบร้อยก่อน และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ การเตรียมผ้าแพรสำหรับคลุมศพและรูปภาพที่จะตั้งหน้าศพ แต่มีกรณีที่ผู้วายชนม์นั้นอยู่ในเกณฑ์สมควรได้รับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ก็สามารถแจ้งไปยังต้นสังกัดของผู้นั้นแล้วเดินเรื่องไปยังกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง เพื่อขอรับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพและเครื่องประกอบเกียรติศพ

4.การรดน้ำศพ

ถือเป็นขั้นตอนแรกๆของพิธีศพไทยก่อนที่จะนำศพบรรจุลงโลง โดยหลังจากที่ทางครอบครัวหรือญาติได้ทำการอาบน้ำหรือชำระร่างกายศพให้สะอาด พร้อมแต่งตัวให้กับผู้เสียชีวิตเรียบร้อยแล้วจึงนำร่างของผู้วายชนม์ขึ้นนอนบนเตียงสำหรับดำเนินพิธีรดน้ำศพ และเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนพิธีรดน้ำศพ จะเป็นเจ้าภาพและลูกหลานทำการรดน้ำศพก่อน แล้วจึงตามด้วยแขกผู้มาร่วมงาน คนสนิท และบุคคลที่นับถือ ตามลำดับ ในขั้นตอนนี้มีขึ้นเพื่อไว้สำหรับแสดงความเคารพและความอาลัยต่อผู้ล่วงลับไปแล้ว

การจัดพิธีศพแบบคนไทย งานศพ รับจัดงานศพ ขั้นตอนการจัดงานศพ

5.การจัดงานบำเพ็ญกุศลและการสวดอภิธรรม

ลำดับถัดมาคือ “การสวดอภิธรรม” ซึ่งพิธีสวดอภิธรรมนี้จะเริ่มสวดตั้งแต่ตั้งศพวันแรกเป็นต้นไป ส่วนมากจะนิยมสวดกัน 1 วัน, 3 วัน, 5 วัน หรือ 7 วัน แต่ในบางครั้งอาจสวดพระอภิธรรมศพจนครบ 100 วัน หรือยาวไปจนถึงวันฌาปนกิจศพเลยก็มีเหมือนกันค่ะ โดยเจ้าทางภาพจะนิมนต์พระสงฆ์ 4 รูปมาสวดพระอภิธรรมศพ 4 จบ และเมื่อสวดพระอภิธรรมศพ เจ้าภาพจึงถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระสงฆ์ ทั้งนี้พิธีสวดอภิธรรมส่วนหนึ่งจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย อีกทางหนึ่งการสวดพระอภิธรรมในงานศพ ก็มีจุดประสงค์เพื่อเตือนสติคนเป็น ที่มาร่วมงาน ให้เห็นความจริงของชีวิตว่าย่อมเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ไม่มีใครหลีกหนีความตายได้พ้น

6.การบรรจุเก็บศพ

กรณีที่มีการบรรจุเก็บศพไว้ก่อนที่จะทำการเผา จะต้องนำศพมาตั้งสวดพระอภิธรรมก่อน โดยสวด 1 คืนก่อนที่จะทำพิธี แล้ววันรุ่งขึ้นจึงจะสามารถทำพิธีฌาปนกิจได้ หรือบางท่านอาจไม่สะดวกตั้งสวดพระอภิธรรมอีกครั้งหนึ่ง สามารถทำการยกศพขึ้น โดยที่ในตอนเช้าเลี้ยงพระเพลและนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นเทศน์พระธรรมเทศนาในบ่าย แล้วทำการฌาปนกิจศพในตอนเย็น การกระทำรูปแบบนี้ จะเรียกกันว่า “ตั้งเช้า เผาเย็น”

ถ้าหากศพนั้นเป็นผู้ให้กำเนิดเรา สามี ภรรยา ก็เห็นสมควรจะตั้งสวดพระอภิธรรมอีกคืนหนึ่งก่อน เพื่อเป็นการให้เกียรติและระลึกถึงผู้ตาย อีกทั้งเป็นการบำเพ็ญกุศลเพิ่มเติมให้อีกทางหนึ่งด้วยค่ะ

7.การฌาปนกิจศพ

“พิธีฌาปนกิจ” หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า การปลงศพ หรือ เผาศพ ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในพิธีงานศพไทย ที่บอกว่าสำคัญนั่นก็เนื่องจากเป็นพิธีกล่าวลาและแสดงความอาลัยแก่ผู้ตายเป็นครั้งสุดท้าย นอกจากนั้นยังเป็นวันสุดท้ายก่อนที่จะเข้าสู่เชิงตะกอนเผาศพ ซึ่งพิธีฌาปนกิจนี้เป็นพิธีกรรมที่ทำให้ผู้ยังมีชีวิตอยู่ได้มีโอกาสระลึกถึงผู้ล่วงลับและตระหนักถึงสัจธรรมของชีวิตเกี่ยวกับความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่งที่ว่า “สิ่งใดในโลกล้วนไม่ยั่งยืน มีพบย่อมมีจาก” โดยเดินเวียนก่อนที่จะนำศพเข้าเตาเผาจะให้เดินไปทางด้านซ้ายหรือทวนเข็มนาฬิกาทั้งหมด 3 รอบ เพื่อเป็นการไว้อาลัยแก่ผู้ล่วงลับและเป็นปริศนาธรรมเกี่ยวกับกฎไตรลักษณ์ อันได้แก่ “อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา” หรือ “การเวียนว่ายตายเกิด ทุกสิ่งไม่มีความเที่ยงแท้ ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นตามธรรมชาติ” จากนั้นจึงจะเชิญศพขึ้นสู่เมรุ เจ้าภาพจะอ่านคำกล่าวลาและยืนไว้อาลัยแล้วต่อด้วยเชิญแขกผู้ใหญ่ทอดผ้าบังสุกุล และตามด้วยแขกที่มาร่วมงาน และสุดท้ายจึงจะเชิญแขกผู้ร่วมงานขึ้นประชุมเพลิง ในวันฌาปนกิจบางที่อาจมีการบำเพ็ญกุศลหน้าศพ เช่น การบวชหน้าไฟ ผู้ที่บวชส่วนใหญ่จะเป็นลูกหลานของผู้ตาย, นิมนต์พระสงฆ์เพื่อสวดพระพุทธมนต์ และถวายภัตตาหารเพล, จัดพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์ เป็นต้น

 

8.การเก็บอัฐิ

เจ้าภาพอาจจะทำพิธีเก็บอัฐิ หรือเถ้ากระดูกหลังจากเผาศพ เพื่อรวบรัดขั้นตอนให้เสร็จภายในวันนั้นเลย หรือจะทำในเช้าวันรุ่งขึ้นก็ได้ โดยเริ่มจากนิมนต์พระสงฆ์มาพิจารณา “บังสุกุลอัฐิ” หรือที่เรียกกันว่า “แปรรูป / แปรธาตุ” ที่มีลักษณะเป็นการนำอัฐิของผู้ล่วงลับที่เผาแล้วมาวางเป็นรูปร่างคน เมื่อทำพิธีเก็บอัฐิเสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพจึงจะเก็บอัฐิใส่โกศด้วยการเลือกเก็บอัฐิจากร่างกายทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ กะโหลกศีรษะ 1 ชิ้น, แขนทั้งสอง, ขาทั้งสอง และซี่โครงหน้าอก 1 ชิ้น ส่วนอัฐิที่เหลือ เรารวมไปถึงขี้เถ้าเราจะรวบรวมเพื่อนำไปลอยอังคารค่ะ

การจัดพิธีศพแบบคนไทย ลอยอังคาร ดอกไม้ ทำพิธีลอยอังคาร

9. ลอยอังคาร

ขั้นตอนการลอยอังคารเป็นความเชื่อของคนไทยที่เชื่อกันว่า ร่างกายมนุษย์เกิดจากการรวมกันของธาตุทั้ง 5 ประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อร่างกายแตกดับแล้วก็ควรให้กลับสู่สภาพเดิม และนอกจากนี้ยังเชื่ออีกด้วยว่าการนำอัฐิไปลอยที่แม่น้ำหรือทะเล จะทำให้ผู้ล่วงลับจากไปอย่างสงบสุข มีความสุข เหมือนดั่งสายน้ำนั่นเอง ความจริงแล้วขั้นตอนนี้สำหรับชาวอินเดียถือว่ามีความสำคัญมาก เมื่อมีชาวอินเดียตายหลังจากทำพิธีเก็บอัฐิแล้ว พวงเขาจะนำเถ้าถ่านที่เหลือเหล่านั้นทิ้งลงสู้แม่น้ำคงคา เพราะเชื่อกันว่าหากตายไปแล้วได้สัมผัสกับแม่น้ำคงคาจะช่วยชำระบาป แล้ววิญญาณคนตายจะได้ขึ้นสวรรค์

การจัดพิธีศพแบบคนไทย การทำบุญตักบาตร ขั้นตอนการจัดงานศพ ทำบุญครบ100วัน

10.การทำบุญครบรอบวันตายของผู้วายชนม์

เป็นการทำบุญครั้งใหญ่ในวันครบรอบวันตายเป็นสิ่งที่ครอบครัว ญาติสนิทของผู้ล่วงลับควรทำอย่างยิ่ง เพื่อให้วิญญาณของผู้ล่วงลับได้รับผลบุญและนำติดตัวไปสู่สุคติภูมิที่ดี คนส่วนมากนิยมทำบุญครบรอบ 7 วัน 50 วัน และ 100 วัน โดยเจ้าภาพและญาติในวันที่จะจัดพิธีทำบุญครบรอบวันตายด้วยการนิมนต์พระสงฆ์ 5 รูป 7 รูป หรือ 9 รูป เพื่อสวดเจริญพระพุทธมนต์ และเลี้ยงอาหารพระตอนเช้าหรือตอนเพล ช่วงเวลาประมาณ 11 โมง แต่ต้องไม่เกินเที่ยง ระหว่างนี้เจ้าภาพและญาติของผู้เสียชีวิตสามารถจัดให้มีการจัดแสดงธรรมเทศนาไปพร้อมกันเลยก็ได้เหมือนกันค่ะ