มัดตราสัง กับความหมายที่แอบแฝง

มัดตราสัง

เมื่อครั้งที่จัดพิธีศพ จะเห็นว่าสัปเหร่อจะทำการมัดตราสังทุกครั้ง บางท่านอาจส่งสัยว่าทำไมต้องทำแบบนี้ด้วย วันนี้ ภัณฑโชค มีคำตอบในเรื่องนี้ให้ทุกท่านแล้วค่ะ

มารู้จักกับคำว่า “ตราสัง” กันก่อนค่ะ บางท่านสัญนิษฐานว่ามาจากคำว่า “สังขาร”

การเสียชีวิตในสมัยก่อน หลังจากดำเนินการแต่งตัวให้ผู้ร่างของผู้ตายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากเป็นศพของผู้ที่มีฐานะ จะมีการนำถุงผ้าขาวสวมบริเวณศีรษะ มือ และเท้า โดยที่มือทั้งสองข้างจะอยู่ในท่าประนมกุมถือดอกไม้ ธูปเทียน จากนั้นนำด้ายดิบ หรือด้ายที่ยังไม่ผ่านกระบวนการฟอกสี เป็นสีตามธรรมชาติ ทำเป็นบ่วงสำหรับคล้องคอหนึ่งบ่วง มัดรวบนิ้วหัวแม่มือและข้อมือทั้งสองข้างหนึ่งบ่วง และสุดท้ายมัดรวบนิ้วหัวแม่เท้าและข้อเท้าเข้าด้วยกันอีกหนึ่งบ่วง เรียกวิธีนี้ว่า “ตราสัง” หรือ “ดอยใน” ซึ่งจะมีขั้นตอนอย่างละเอียดดังนี้

  • เมื่อสัปเหร่อ นำบ่วงคล้องที่คอจะท่องคาถา “ปุตโต คีว” หมายถึง ลูกเป็นห่วงผูกคอ นับเป็นห่วงที่ 1

  • โยงด้ายมากลางลำตัว ทำเป็นห่วงผูกนิ้วหัวแม่มือทั้งสองของผู้ตายให้มืออยู่ในลักษณะของท่าพนมโดยที่จะมีดอกไม้ ธูปเทียนใส่ไว้ในมือ แล้วจึงรวบผูกมือไว้ที่กลางหน้าอก พร้อมท่องคาถา “ธน หตุเถ” หมายถึง ทรัพย์นับเป็นห่วงผูกมือ นับเป็นห่วงที่ 2

  • สุดท้ายโยงด้ายมาที่ปลายเท้า ทำเป็นบ่วงผูกนิ้วหัวแม่เท้าและข้อเท้าทั้งสองข้างให้ติดกัน พร้อมท่องคาถา “ภริยา ปาเท” หมายถึง ภรรยานั้นนับเป็นห่วงผูกเท้า เป็นห่วงที่ 3

หากอธิบายแบบปริศนาธรรม 3 บ่วงนี้นับเป็นสิ่งที่ผูกรั้งทุกชีวิตให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏะสงสาร หากต้องการหลุดพ้นได้ต้องละซึ่งทั้ง 3 บ่วงให้ได้เสียก่อน

เมื่อตราสังเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงนำผ้าขาวมาห่อร่างอีกสองรอบ โดยที่นำชายผ้าที่เหลือเก็บเป็นปมก้นหอยไว้ด้านหลังศีรษะ แล้วนำด้ายดิบขนาดนิ้วหัวแม่มือมามัดไว้เป็นช่วงๆ ให้แน่นจำนวน 5 ช่วง ซึ่งจะสอดคล้องกับปริศนาทางธรรม ที่กล่าวถึง นิวรณ์ 5 อันประกอบไปด้วย

1.กามฉันทะ

2.ความพยาบาท

3.ความง่วงเหงาหาวนอน

4.ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ

5.ความลังเลใจ

ทั้ง 5 ประการนี้ ล้วนเป็นสิ่งที่ขัดขวางไม่ให้บรรลุซึ่งความดี และเป็นอุปสรรคข้อใหญ่ที่ทำให้หลายท่านล้มเลิกความตั้งใจในการปฏิบัติธรรมไปเลยก็เป็นได้

ความจริงแล้ว เหตุผลที่ต้องมัดตราสังนั้น ก็เนื่องมาจากว่า ในสมัยก่อนนั้นไม่มีฟอร์มาลีนที่จะช่วยรักษาสภาพศพอย่างในปัจจุบัน เมื่อมีคนเสียชีวิตจึงต้องมีการมัดศพให้แน่น เพราะหลังจากที่เสียชีวิตไปหลายวันแล้ว ร่างกายจะพองขึ้นหรือที่เรียกกันว่า เกิดการบวมอืด จึงต้องมัดศพให้ดี เพื่อไม่ให้ร่างกายนั้นพองจนดันโลงปริแตกออก ภายในโลงศพสมัยก่อนจะบุด้วยผ้า ไว้สำหรับคอยซับน้ำเหลืองที่ขับออกมาจากร่างกาย ส่วนการที่ต้องปล่อยให้เชือกลากยาวออกจากนอกโลงก็เพื่อไว้สำหรับให้พระทำพิธีบังสุกุล บุญกุศลทั้งหลายจะได้ติดตัวไปยังโลงหน้า ซึ่งการที่นิมนต์พระภิกษุสงฆ์สำหรับจูงหน้าศพนั้น ยังเป็นการเตือนคนเป็นว่า ยามมีชีวิตอยู่จงใช้ชีวิตตามหลักธรรมคำสั่งสอน แล้วชีวิตที่ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรม จะส่งผลให้มีธรรมมะ คุณธรรมจริยธรรมอยู่ในใจ พบเจอแต่สิ่งดีๆ มีความเจริญก้าวหน้าเข้ามาในชีวิต