ดอกเบญจมาศ ทำไมผู้คนไม่นิยมมอบให้กัน

 

ดอกเบญจมาศมีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่นและจีน ซึ่งเป็นสื่อแทนความหมายได้หลายรูปแบบ อาทิเช่น ตามความเชื่อของชาวจีน ดอกเบญจมาศ เป็นสัญลักษณ์ ของฤดูใบไม้ร่วงในเดือน 9 ของชาวจีน เปรียบได้กับตัวแทนของความงามและความยั่งยืน ชาวจีนจึงนิยมนำมาไหว้พระ ถ้าเป็นเบญจมาศขาวจะหมายถึง สัจจะและความซื่อสัตย์ ส่วนดอกเบญจมาศสำหรับชาวญี่ปุ่น เป็นดอกไม้ประจำราชวงศ์ ทั้งจีนและญี่ปุ่นมีเทศกาลชมดอกเบญมาศเหมือนกัน คือ ในเดือน 9 หรือเดือนกันยายน ตามความเชื่อที่ว่าเพื่อให้มีอายุยืนและขจัดสิ่งชั่วร้ายออกไป เนื่องจากในสมัยก่อนดอกเบญจมาศเป็นดอกไม้ที่สามารถหาได้ง่าย จึงนิยมนำดอกเบญจมาศสีขาวมาใช้ประดับตกแต่งในงานศพ รวมถึงหลายประเทศทางแถบยุโรปใช้ดอกเบญจมาศเพื่อเคารพหลุมศพเช่นกัน และด้วยเหตุผลเหล่านี้เองดอกเบญจมาศจึงเปรียบได้กับดอกไม้แห่งความตาย ผู้คนจึงไม่นิยมนำดอกเบญจมาศสีขาวไปเยี่ยมคนป่วยหรือมอบให้กัน

สำหรับเมืองไทยแล้ว ดอกเบญจมาศ (Chrysanthemum) เป็นดอกไม้ที่แสดงถึงความบริสุทธิ์ใจ ผู้ให้ดอกไม้นี้แสดงถึงผู้ที่มองโลกในแง่ดี แต่ในอีกแง่มุมการที่ผู้คนนิยมใช้ดอกเบญจมาศสีขาวประดับในงานศพเหมือนกันก็เนื่องจากเป็นดอกไม้ที่เหี่ยวช้า และยังสื่อได้ว่า ความตายเป็นสัจจะไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อีกทั้งยังเป็นการระลึกถึงผู้วายชนม์ ว่ายังคงอยู่ในใจของคนในครอบครัวและญาติพี่น้องตลอดไป

“ดอกเบญจมาศ” หรือที่ทุกคนรู้จักกันในชื่อ “ดอกเก๊กฮวย” ใครที่เคยดื่มน้ำเก๊กฮวยเข้าไปก็อาจไม่เคยทราบมาก่อนว่า ดอกเก๊กฮวยแห้ง ที่ใช้ต้มนั้น ความจริงแล้วก็คือ ดอกเบญจมาศพันธุ์หนึ่งนั่นเองค่ะ อาจเพราะเบญจมาศนั้นมีอยู่สายพันธุ์มากกว่า 1,000 พันธุ์ พอดอกรูปร่างคล้ายกันก็คิดไม่ถึงว่าเป็นดอกไม้ชนิดเดียวกันก็เป็นได้ค่ะ

ภัณฑโชค บริการด้านงานศพครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการรับศพไปจนถึงการเผาศพ ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

บริการของเรา